เมนู

ประการดังพรรณนามาฉะนี้แล.

สัญญา วิญญาณ ปัญญา


ก็เพราะเหตุที่สัญญาปรากฏ โดยกำหนดถึงอาการและสัณฐาน
ของอารมณ์ ฉะนั้น สัญญานั้น จึงทรงจำแนกไว้ในจักษุทวาร. (แต่)
เพราะเหตุที่วิญญาณปรากฏโดยกำหนดความแตกต่างเฉพาะอย่างของ
อารมณ์ เว้น (การกำหนด) อาการและสัณฐาน ฉะนั้น วิญญาณนั้นจึง
ทรงจำแนกไว้ในชิวหาทวาร.
อนึ่ง เพื่อกำหนดถึงสภาวะของสัญญาและวิญญาณเหล่านี้โดย
ไม่งมงาย จึงควรทราบถึงความแปลกกันในบทเหล่านี้ว่า สญฺชานาติ
(จำได้) วิชานาติ (รู้แจ้ง) ปชานาติ (รู้ชัด).
ในบททั้ง 3 นั้น เพียงแต่อุปสรรค (สํ, วิ, ป) เท่านั้นที่แปลกกัน
ส่วนบทว่า ชานาติ ไม่แปลกกันเลย. อนึ่ง เพราะบทว่า ชานาติ นั้น
มีความหมายว่า รู้ จึงควรทราบความแปลกกันดังต่อไปนี้ :-
อธิบายว่า สัญญาเป็นเพียงการจำได้หมายรู้อารมณ์โดยเป็น
สีเขียวเป็นต้นเท่านั้น (แต่) ไม่สามารถให้ถึงการแทงตลอด (สามัญญ)
ลักษณะคือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาได้.
วิญญาณ ย่อมรู้อารมณ์โดยเป็นสีเขียวเป็นต้น และให้ถึงการแทง
ตลอด (สามัญญ) ลักษณะมีไม่เที่ยงเป็นต้น แต่ไม่สามารถให้ก้าวไปถึง
มรรคปรากฏ (รู้แจ้งมรรค) ได้.
ปัญญา ย่อมรู้แจ้งอารมณ์โดยเป็นสีเขียวเป็นต้นด้วย ย่อมให้
ถึงการแทงตลอด (สามัญญ) ลักษณะ โดยเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้นด้วย
ทั้งให้ก้าวไปถึงความปรากฏแห่งมรรค (รู้แจ้งมรรค) ด้วย.